วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การใช้ลูกบาส

 ลูกบาสเกตบอล (Basketballs) ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตาม แบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน
 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์
 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูง โดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่างของลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร
ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635เซนติเมตร
 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม
3 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการ ยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้องพิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมาใช้แข่งขันก็ได้

ลูกยึด

ลูกยึด
ผู้ตัดสินไม่ควรขานลูกยึดเร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้การแข่งขันหยุดชะงัก และทำให้ขาดความยุติธรรมที่ผู้เล่นต้องเสียลูกบอลที่ตนกำลังครอบครอง หรือกำลังจะได้ครอบครอง ผู้ตัดสินจะขานลูกยึดก็ต่อเมื่อมีผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนยึดลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือไว้อย่างมั่นคง จนกระทั่งไม่มีผู้เล่นคนใดสามารถจะครอบครองลูกบอลได้โดยปราศจากความรุนแรง และไม่ควรขานลูกยึดโดยเพียงพิจารณาจากเหตุผลที่ว่า ฝ่ายป้องกันได้ใช้มือสัมผัสลูกบอลเท่านั้น การขานในลักษณะเช่นนี้จะไม่ยุติธรรมต่อผู้เล่นที่ได้ครอบครองลูกบอลอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อบังคับ

ข้อบังคับบาสเกตบอล
ลูกสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข้าหาห่วงโดยการชู้ต การส่งระหว่างผู้เล่น การขว้าง การเคาะลูก การกลิ้งลูก หรือ การเลี้ยงลูก (โดยการให้ลูกกระเด้งกับพื้นขณะวิ่ง ภาษาอังกฤษเรียก ดริบบลิง, dribbling)
ลูกจะต้องอยู่ในสนาม ทีมสุดท้ายที่สัมผัสลูกก่อนที่ลูกจะออกนอกสนามจะสูญเสียการครองบอล ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก (เรียกว่า แทรเวลลิง, travelling) เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ หรือเลื้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ (เรียกว่า ดับเบิล-ดริบบลิง, double-dribbling) เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก (carrying) ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม (frontcourt) แล้ว ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง (backcourt) อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่
ผู้เล่นจะต้องนำลูกจากแดนตัวเองข้ามเข้าแดนตรงข้ามภายในเวลาที่กำหนด (8 วินาทีทั้งในกติกาสากลและเอ็นบีเอ) ต้องชู้ตภายในเวลา 24 วินาที ถือลูกขณะที่ถูกยืนคุมโดยฝ่ายตรงข้ามไม่เกิน 5 วินาที อยู่ในบริเวณใต้แป้นไม่เกิน 3 วินาที กฎเหล่านี้มีไว้เป็นรางวัลแก่การตั้งรับที่ดี
ห้ามผู้เล่นรบกวนห่วง หรือ ลูกขณะเคลื่อนที่คล้อยลงมายังห่วง หรือ ขณะอยู่บนห่วง (ในเอ็นบีเอ ยังรวมกรณีลูกอยู่เหนือห่วงพอดี) การฝ่าฝืนข้อห้ามนี้เรียก โกลเทนดิง (goaltending) ถ้าฝ่ายรับทำผิด จะถือว่าการชู้ตสำเร็จและอีกฝ่ายได้คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกทำผิด จะไม่คิดคะแนนการชู้ตนี้ และเสียการครองบอล

กติกาการเล่น

กติกาการเล่นบาสเกตบอล
เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควาเตอร์ (quarter) แต่ละควาเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาล์ว หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง)
ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์
เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้
แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด
เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก

เส้นในใช้การเล่นบาส

เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน (ควรเป็นสีขาว) กว้าง 5 เซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน
เส้นหลังและเส้นข้าง ( End lines and side-lines) สนามจะต้องถูกจำกัดโดยเส้นหลัง 2 เส้น (ด้านกว้างของสนาม) และเส้นข้าง 2 เส้น (ด้านยาวของสนาม) เส้นไม่เป็นส่วนหนึ่ง ของสนาม สนามต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวาง รวมถึงที่นั่งของทีมอย่างน้อย 2 เมตร
เส้นกลาง ( Center line) เส้นกลาง ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังที่จุดกึ่งกลางของเส้นข้างต้องมีส่วนยื่นออกไป 15 เซนติเมตร จากเส้นข้างแต่ละด้าน
 เส้นโยนโทษ ( Free-throw lines) พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ( Restricted areas) และเขตโยนโทษ (Free-throw lanes) เส้นโยนโทษ ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังแต่ละด้าน ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และมีความยาว 3.60 เมตร จุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษที่สมมุติขึ้นเป็นแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 เส้น พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ต้องเป็นพื้นที่ ในสนามที่กำหนดโดยเส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นซึ่งเริ่มต้นจากเส้นหลังห่าง 3 เมตร จากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังและขอบนอก ของเส้นโยนโทษ เส้นจะแยกออกจากเส้นหลัง เส้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ภายในของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาทีอาจจะทาสีก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีที่ทาวงกลมกลางสนาม เขตโยนโทษเป็นพื้นที่ที่ต่อออกจากพื้นที่เขตกำหนด 3 นาทีเข้าไปในสนามโดยขีดเส้นเป็นครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร ใช้จุด กึ่งกลางของเส้นโยนโทษเป็นจุดศูนย์กลาง เขตช่องยืนตามแนวเขตโยนโทษ เป็นช่องที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษ จะต้องเขียนเส้นลักษณะ
วงกลมกลาง ( Center circle)
วงกลมกลางต้องเขียนไว้กลางสนามรัศมี 1.80 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นรอบวง ถ้าทาสีภายในพื้นที่วงกลมต้องเป็น สีเดียวกับสีที่ทาพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนน ( Three-point field goal area)
พื้นที่ยิงประตู 3คะแนนของทีมจะเป็นพื้นที่ทั้งหมดของสนามยกเว้นพื้นที่ที่ใกล้ห่วงประตูฝ่ายตรงข้ามซึ่งถูกจำกัดโดยสิ่งต่อไปนี้
- เส้นขนาน 2 เส้น จากเส้นหลังไปถึงปลายเส้นโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 6.25 เมตร จากจุดนี้ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางของห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม ระยะห่างถึงขอบในของจุดกึ่งกลางเส้นหลัง 1.575 เมตร
- รูปครึ่งวงกลมมีรัศมี 6.25 เมตร จากจุดศูนย์กลางถึงขอบนอก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกัน) ลากไปต่อกับเส้นขนาน

การเล่นเป็นทีม

การเล่นเป็นทีม
การเล่นเป็นทีมจัดได้ว่าเป็นหัวใจที่สำคัญอันหนึ่งของการเล่นกีฬาบาสเกตบอล ทั้งนี้เพราะว่ากีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม ไม่ใช่ใช้ความสามารถเฉพาะนักกีฬาเพียงคนหนึ่งคนเดียว ดังนั้นการเล่นกีฬาเป็นทีมจำเป็นต้องมีแบบแผนของการเล่นมีตำแหน่งของการเล่นซึ่งผู้เล่นแต่ละตำแหน่งจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดและยังจะต้องสัมพันธ์กับผู้เล่นตำแหน่งอื่น ๆ อีกด้วย
ตำแหน่งของการเล่นกีฬาบาสเกตบอล  ประกอบด้วยผู้เล่นทั้งหมด  5  คน  ซึ่งอาจแบ่งหน้าที่กันเป็นกองหน้า  กองกลาง   และกองหลังซึ่งแต่ละแบบของการเล่นมีจำนวนไม่เหมือนกันซึ่งเวลาบุกนั้นเล่นกองหน้าจะอยู่ในแดนหน้กองกลางจะอยู่ในแดนกลางและกองหลังจะอยู่ในแดนหลัง สำหรับผู้เล่นแดนกลางในบางวิธีของการเล่นจะไม่มีกองกลาง คือเล่นระหว่างกองหน้าและกองหลังก็ย่อมเป็นได้

ข้อยกเว้นในการปัดบอล

ข้อยกเว้น
ผู้เล่นที่ปัดลูกบอลจากการเล่นลูกกระโดดให้ตรงไปยังห่วงประตู ไม่ใช่อยู่ในลักษณะการยิงประตู
คำนิยาม การโยน การยัดห่วง และการปัดลูกบอล
การโยน คือการถือลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ แล้วส่งแรงให้ลูกบอลลอยไปยังห่วงประตู
การยัดห่วง คือการออกแรง หรือความพยายามที่จะออกแรงยัดลูกบอลลงห่วงประตูด้วยมือเดียวหรือสองมือ
การปัดลูกบอล คือการตีลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือให้ไปยังห่วงประตู
ผู้เล่นอยู่ในลักษณะยิงประตู
สำหรับการฟาวล์ที่กระทำต่อผู้เล่นที่อยู่ในลักษณะการยิงประตู ผู้ตัดสินพึงพิจารณาว่าการฟาวล์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้เกิดขึ้นภายหลังที่ผู้ยิงประตูได้เริ่มต้นการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของแขน ( ข้างเดียวหรือสองข้าง ) เพื่อการยิงประตู

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การแย่งบาส

การเล่นลูกกระโดด จะเกิดขึ้นเมื่อ
1. เมื่อมีการขานลูกยึด ถ้ามีผู้เล่นมากกว่า 2 คน เกี่ยวข้องให้โยนลูกบอลเพื่อเล่นลูกกระโดดระหว่างผู้เล่นดังกล่าวฝ่ายละคนที่มีความสูงใกล้เคียงกัน
2. ถ้าลูกบอลออกนอกเขตสนาม และผู้เล่นทั้งสองฝ่ายถูกลูกบอลพร้อมๆ กัน ก่อนที่ลูกบอลจะออกนอกเขตสนาม หรือถ้าผู้ตัดสินไม่แน่ใจว่าใครถูกลูกบอลเป็นคนสุดท้าย หรือผู้ตัดสินขัดแย้งกันเอง ก็ให้ดำเนินการเล่นต่อไปด้วยลูกกระโดดระหว่างผู้เล่นสองคนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ณ วงกลมที่ใกล้ที่สุด
3. เมื่อลูกบอลติดค้างที่ก้านห่วง ให้ดำเนินการเล่นต่อไปด้วยลูกกระโดดที่เส้นโยนโทษที่ใกล้ที่สุดระหว่างผู้เล่นสองคนใดก็ได้จากทั้งสองฝ่าย
ผู้เล่นอยู่ในลักษณะการยิงประตู เมื่อผู้ตัดสินได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้เล่นคนนั้นได้เริ่มพยายามที่จะทำประตูโดยการโยนยังห่วงหรือปัดลูกบอล และลักษณะความพยายามนี้จะต้องต่อเนื่องจนกระทั่งลูกบอลได้หลุดมือเขาไป

3 วินาที

กติกาว่าด้วย 3 วินาที
ผู้เล่นจะต้องไม่อยู่ภายในเขตกำหนดเวลาของคู่แข่งขันต่อเนื่องกันเกินกว่า 3 วินาที เขตนี้อยู่ระหว่างเส้นหลังและขอบนอกของเส้นโยนโทษ ในขณะที่ทีมของตนกำลังครอบครองลูกบอล
กติกาว่าด้วย 3 วินาที จะใช้บังคับทุกกรณี เช่น ลูกบอลออกนอกเขตสนาม จะเริ่มการนับเวลาตั้งแต่งผู้เล่นจะส่งบอลเข้า เล่นได้ยืนอยู่นอกสนามและมีลูกบอลอยู่ในครอบครอง ซึ่งกติกาทั้งหมดเกี่ยวกับการสิ้นสุดเวลาของการแข่งขันจะถูกบังคับใช้เกี่ยวกับ การทำผิดกติกาว่าด้วย 30 วินาที

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเล่นรูปแบบอื่นๆๆ

บาสเกตบอลยังมีการดัดแปลงการเล่นเป็นรูปแบบอื่น ๆ โดยยังคงใช้ทักษะทางบาสเกตบอล ตลอดจนอุปกรณ์การเล่น (มักได้แก่ลูกบาสเกตบอล และห่วง) การเล่นบางรูปแบบก็เป็นการเพียงเปลี่ยนกฎอย่างผิวเผิน แต่บางอย่างก็ถือเป็นเกมคนละชนิดไปเลย ซึ่งเกมเหล่านี้มักเป็นการเล่นไม่เป็นทางการ โดยไม่มีกรรมการ และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
เกมที่น่าจะพบบ่อยสุด คือการเล่นแบบ ฮาล์ฟคอร์ต (half court game) โดยใช้สนามเพียงครึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนการครองบอล จะต้องเคลียร์ลูก คือส่งลูกออกไปยังเส้นครึ่งสนามหรือนอกเส้นชู้ตสามคะแนนก่อนถึงจะเล่นต่อได้ การเล่นแบบนี้ใช้พละกำลังและความแกร่งน้อยกว่าเพราะไม่ต้องวิ่งตลอดความยาวสนาม การเล่นแบบนี้ยังเป็นการใช้สนามอย่างคุ้มค่าขึ้น เนื่องจากสนามบาสสนามหนึ่งสามารถเล่นพร้อมกันสองเกม เมื่อมีคนมาเล่นในสนามเป็นจำนวนมาก เจ้าของสนามอาจบังคับว่าต้องเล่นในลักษณะฮาล์ฟคอร์ต

ความสูงของนักกีฬา

ความสูง

ส่วนสูงของนักกีฬาถือเป็นข้อได้เปรียบในกีฬาบาสเกตบอล ในระดับอาชีพนักกีฬาชายส่วนใหญ่สูงเกิน 1.91 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว) ส่วนนักกีฬาหญิงมักสูงเกิน 1.67 เมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว) ผู้เล่นตำแหน่งการ์ดซึ่งใช้ทักษะการครองบอลเป็นสำคัญ มักจะเป็นผู้เล่นที่ตัวเล็กที่สุด แต่บางครั้งก็อาจสูงมากเช่นกัน ผู้เล่นตำแหน่งฟอร์เวิร์ดในระดับอาชีพของชายมักสูงถึง 2.1 เมตร (6 ฟุต 8 นิ้ว) หรือมากกว่านั้น เซ็นเตอร์มักสูงเกิน 2.16 เมตร (7 ฟุต 1 นิ้ว) ผู้เล่นที่สูงที่สุดเท่าที่เคยเล่นในเอ็นบีเอ ได้แก่ มานูต โบล (Manute Bol) และ จอร์จ มูเรซาน (Gheorghe Muresan) ซึ่งสูง 2.31 เมตร (7 ฟุต 7 นิ้ว) ปัจจุบันผู้เล่นที่สูงที่สุดในเอ็นบีเอคือ เหยา หมิง สูง 2.29 เมตร (7 ฟุต 6 นิ้ว)
ผู้เล่นที่ตัวเตี้ยที่สุดที่เคยเล่นในเอ็นบีเอคือ มักซี โบกส์ (Muggsy Bogues) ซึ่งสูง 1.60 เมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว) ผู้เล่นตัวไม่สูงบางคนประสบความสำเร็จในการเล่นอาชีพ ตัวอย่างเช่น แอนโทนี เว็บบ์ หรือชื่อเล่น สปัด เว็บบ์ (Anthony "Spud" Webb) ซึ่งสูงเพียง 5 ฟุต 7 นิ้ว (1.7 เมตร) แต่สามารถกระโดดสูงถึง 42 นิ้ว (1.07 เมตร) ทำให้ดูสูงเมื่อกระโดด
ระเบียบข้อที่ 3 ผู้เล่นที่ได้รับลูกบอลขณะที่ยืนนิ่ง ๆ หรือได้หยุดตามกติกาขณะที่ถูกลูกบอล
1. อาจจะยกเท้าหลักหรือกระโดดขึ้นเพื่อยิงประตู หรือส่งลูกบอล แต่ลูกบอลจะต้องหลุดจากมือก่อนเท้าที่ยกพ้นพื้นหรือทั้งสองเท้าถูกพื้นสนามอีกครั้งหนึ่งถึงแม้ว่าผู้เล่นฝ่ายปกป้องกันจะถูกลูกบอลด้วยมือใดมือหนึ่ง หรือทั้งสองมือก็ตาม ถ้ามือที่จับลูกบอลนั้นยึดลูกบอลแน่นจนไม่มีใครจะได้ครอบครองลูกบอลโดยปราศจากความรุนแรง ผู้ตัดสินต้องขานลูกยึด หรือ
2. ไม่อาจจะยกเท้าหลัก เมื่อเริ่มต้นการเลี้ยงลูกบอลก่อนที่ลูกบอลจะหลุดจากมือการเคลื่อนที่พร้อมกับลูกบอลนอกเหนือจากกติกาเหล่านี้เป็นการทำผิดระเบียบ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การหมุนตัวในการเล่นบาส

การหมุนตัว
การหมุนตัวจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นที่กำลังถือลูกบอลก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งเพียงเท้าเดียว 1 ก้าว หรือหลายๆ ก้าวในทิศทางต่างๆ โดยเท้าอีกข้างหนึ่งจะเป็นเท้าหลัก ( หรือเท้าหมุน ) ซึ่งยังคงสัมผัสพื้น ณ จุดที่ตนยืนอยู่นั้น
บทลงโทษ
ให้คู่แข่งขันได้ส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเส้นข้าง ณ จุดที่ใกล้กับการทำผิดกติกามากที่สุด

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลักษณะของการดำเนินการแข่งขันต่อ

ลักษณะของการดำเนินการแข่งขันต่อ
ภายหลังที่มีบอลตายด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม ให้ดำเนินการแข่งขันต่อไปนี้
1. ถ้าทีมใดทีมหนึ่งได้ครอบครองลูกบอลมาก่อน ให้ผู้เล่นของทีมนั้นได้ส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเส้นข้างใกล้กับจุดที่ บอลตายมากที่สุด
2. ถ้าไม่มีทีมใดได้ครอบครองลูกบอลมาก่อน ให้เล่นลูกกระโดดที่วงกลมใกล้กับจุดที่บอลตายมากที่สุด
3. หลังการฟาวล์
4. ภายหลังลูกยึด
5. ภายหลังการหมดเวลาแต่ละครึ่งหรือเวลาเพิ่มพิเศษ
6. ภายหลังลูกบอลออกนอกเขตสนาม
7. ภายหลังการทำผิดระเบียบ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คำอธบายในการบาดเจ็บ

คำอธิบายกติกา ในกรณีบาดเจ็บของผู้เล่น
" ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บได้รับการพยาบาล เขาต้องถูกเปลี่ยนตัว ถ้าไม่เปลี่ยนตัวผู้เล่นที่บาดเจ็บในกรณีดังกล่าว ทีมนั้นจะถูกปรับเป็นเวลานอก "
จุดประสงค์ในกติกาข้อนี้คือ โค้ชมีสิทธิ์ยอมเสียเวลานอก เพื่อให้ผู้เล่นที่บาดเจ็บได้เข้าแข่งขันต่อไป แต่ทีมจะไม่ได้รับเวลานอกเต็ม 60 วินาที เท่ากับเวลานอกปกติ แต่ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่บาดเจ็บภายในเวลา 1 นาที เขาจะไม่มีสิทธิ์แข่งขันต่อและจะต้องถูกเปลี่ยนตัว

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความสูง

ความสูง

ส่วนสูงของนักกีฬาถือเป็นข้อได้เปรียบในกีฬาบาสเกตบอล ในระดับอาชีพนักกีฬาชายส่วนใหญ่สูงเกิน 1.91 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว) ส่วนนักกีฬาหญิงมักสูงเกิน 1.67 เมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว) ผู้เล่นตำแหน่งการ์ดซึ่งใช้ทักษะการครองบอลเป็นสำคัญ มักจะเป็นผู้เล่นที่ตัวเล็กที่สุด แต่บางครั้งก็อาจสูงมากเช่นกัน ผู้เล่นตำแหน่งฟอร์เวิร์ดในระดับอาชีพของชายมักสูงถึง 2.1 เมตร (6 ฟุต 8 นิ้ว) หรือมากกว่านั้น เซ็นเตอร์มักสูงเกิน 2.16 เมตร (7 ฟุต 1 นิ้ว) ผู้เล่นที่สูงที่สุดเท่าที่เคยเล่นในเอ็นบีเอ ได้แก่ มานูต โบล (Manute Bol) และ จอร์จ มูเรซาน (Gheorghe Muresan) ซึ่งสูง 2.31 เมตร (7 ฟุต 7 นิ้ว) ปัจจุบันผู้เล่นที่สูงที่สุดในเอ็นบีเอคือ เหยา หมิง สูง 2.29 เมตร (7 ฟุต 6 นิ้ว)
ผู้เล่นที่ตัวเตี้ยที่สุดที่เคยเล่นในเอ็นบีเอคือ มักซี โบกส์ (Muggsy Bogues) ซึ่งสูง 1.60 เมตร (5 ฟุต 3 นิ้ว) ผู้เล่นตัวไม่สูงบางคนประสบความสำเร็จในการเล่นอาชีพ ตัวอย่างเช่น แอนโทนี เว็บบ์ หรือชื่อเล่น สปัด เว็บบ์ (Anthony "Spud" Webb) ซึ่งสูงเพียง 5 ฟุต 7 นิ้ว (1.7 เมตร) แต่สามารถกระโดดสูงถึง 42 นิ้ว (1.07 เมตร) ทำให้ดูสูงเมื่อกระโดด

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การชู้ตบาส

การชู้ต

การชู้ตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด
ผู้เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชู้ตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
ผู้เล่นมักชู้ตลูกให้ลูกหมุนแบบแบ็คสปิน (backspin) กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชู้ตไปยังห่วงตรง ๆ แต่ในบางครั้งผู้ชู้ตอาจต้องชู้ตให้กระดอนกับแป้นแทน
วิธีการชู้ตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ เซ็ตช็อต (set shot) และ จัมพ์ช็อต (jump shot) เซ็ตช็อตคือการชู้ตขณะที่ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชู้ตฟรีโทรว์ ส่วนจัมพ์ช็อต คือการชู้ตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชู้ตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชู้ตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
ผู้เล่นที่ชู้ตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชู้ตอีกด้วย ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชู้ตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ

การส่งบอล

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การตั้งรับ

การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน (zone defense) และ แบบแมน-ทู-แมน (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผนการเล่นเอาไว้
ส่วนการเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การคัท (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน (screen) หรือ พิก (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมในขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้างๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล) สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับเพื่อนร่วมทีม

ตำแหน่งของผู้เล่นและผู้ตัดสิน

ตำแหน่งของผู้เล่นและผู้ตัดสิน
ตำแหน่งของผู้ตัดสินจะถูกกำหนดโดยจุดสัมผัสกับพื้นสนามเมื่ออยู่ในอากาศจากการกระโดด จะมีสภาพเช่นเดียวกับตอนสัมผัสพื้นสนามครั้งสุดท้ายเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับเส้นขอบของสนามเส้นกลาง เส้นเขตกำหนดการยิงประตูเพื่อทำ 3 คะแนนเส้นโยนโทษ หรือเส้นกำหนดเขตโยนโทษ
ตำแหน่งของผู้ตัดสินจะถูกกำหนดเหมือนกับผู้เล่น เมื่อลูกบอลถูกตัวผู้ตัดสินก็เสมือนกับถูกพื้นสนามในตำแหน่งที่ผู้ตัดสินยืน
ผู้เล่นสำรอง
    ผู้เล่นสำรองก่อนที่จะเข้าไปในสนามต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึก และต้องพร้อมที่จะทำการแข่งขันได้ทันที โดยผู้บันทึกจะต้องให้สัญญาณทันทีที่มีบอลตาย และหยุดเวลาการแข่งขัน แต่ต้องกระทำก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นอีกครั้งหนึ่งภายหลังการทำผิดระเบียบ เฉพาะทีมที่ไม่ได้ทำผิดระเบียบคือ ทีมที่จะส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามทางเส้นข้างมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวผู้เล่น ถ้าได้มีสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวได้ ผู้เล่นสำรองจะต้องรออยู่นอกเส้นข้างจนกว่าผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณจึงจะเข้าไปในสนามแข่งขันได้อย่างทันที
การเปลี่ยนตัวต้องเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่มีการชักช้าโดยไร้เหตุผลอันควร ก็ให้เป็นเวลานอกแก่ทีมที่ล่าช้านั้นผู้เล่นที่จะเล่นลูกกระโดดจะไม่ให้เปลี่ยนตัวกับผู้เล่นคนอื่น
ผู้เล่นที่ได้เปลี่ยนตัวออกไปแล้วจะไม่ให้เข้าไปในสนามแข่งขันอีกในช่วงการเปลี่ยนตัวเดียวกันจะไม่ให้มีการเปลี่ยนตัวในกรณีต่อไป
1. ภายหลังการทำประตูได้ เว้นแต่ว่าได้มีการให้เวลานอก หรือมีการขานฟาวล์ หรือ
2. จากช่วงเวลาตั้งแต่ลูกบอลเข้าสู่การเล่นเพื่อการโยนโทษครั้งแรก หรือครั้งเดียว กระทั่งได้มีบอลตายอีกครั้งหนึ่งของช่วงเวลาการเดินนาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน หรือกระทั่งมีการขานฟาวล์ หรือมีการกระทำผิดระเบียบก่อนจะเดินนาฬิกา การลงโทษสำหรับการโยนโทษ การเล่นลูกกระโดด หรือการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกสนามทางเส้นข้าง
ข้อยกเว้น ในกรณีที่มีการทำฟาวล์ระหว่างการโยนโทษ จะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวได้ แต่เฉพาะเมื่อการดำเนินการโยนโทษและการฟาวล์ก่อนหน้านั้นได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น และก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นสำหรับโทษของการฟาวล์ครั้งใหม่ ภายหลังการโยนโทษครั้งเดียวหรือครั้งสุดท้ายได้ผล เฉพาะผู้โยนโทษเท่านั้น จะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นเพื่อโยนโทษครั้งแรกหรือครั้งเดียวเท่านั้น ในกรณีนี้อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะเปลี่ยนตัวได้คนหนึ่ง โดยมีข้อแม้ว่าได้ขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นก่อนการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวนั้น ภายหลังจากที่ผู้บันทึกได้ให้สัญญาณเพื่อการเปลี่ยนตัว ไม่อาจจะบอกยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้อีก อย่างไรก็ตาม จะขอยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้ทุกเวลา ก่อนที่ผู้บันทึกจะให้สัญญาณว่ามีการขอเปลี่ยนตัว

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กติกาบาส 13 ข้อ

กติกาบาสเกตบอล 13 ข้อ


   1. สามารถโยนลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ
   2. สามารถตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ แต่ต้องไม่ใช้กำปั้น
   3. ห้ามถือลูกบอลวิ่งต้องโยนลูกบอลจากจุดที่ถือลูกบอล ผู้เล่นสามารถวิ่งเพื่อคว้าบอล
   4. ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขนหรือลำตัว ห้ามดึงลูกบอล
   5. ห้าม ใช้ไหล่ดัน ผลัก ดึง ตบหรือตี ฝ่ายตรงข้าม หากเกิดการละเมิดให้ถือเป็น ฟาล์ว หาก กระทำซ้ำอีก ถือเป็น ฟาล์วเสียสิทธิ์ จนกว่าจะเกิดการยิงประตูเป็นผลในคราวต่อไป หรือเกิดผู้เล่นบาดเจ็บของผู้เล่นตลอดการแข่งขัน ห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น
   6. การฟาล์วเป็นการกระแทกลูกบอลด้วยกำปั้นและการผิดระเบียบของกติกาข้อ 3,4 และตาม รายละเอียดตามกติกาข้อ 5
   7. หาก ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกระทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนน (การฟาล์วติดต่อกัน หมายถึง เป็นการฟาล์วที่ไม่มีการฟาล์วของฝ่ายตรงข้ามคั่นระหว่างการฟาล์วติดต่อนั้น)
   8. เมื่อ ลูกบอลถูกตี หรือโยนจากพื้นเสข้าประตู ให้นับคะแนน หากลูกบอลค้างก้านห่วงโดยผู้ เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสหรือกระทบประตู ให้นับคะแนน
   9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้า เล่นที่สัมผัสลูกบอลครั้งแรกในกรณี ที่มีผู้คัดค้าน กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) จะโยนบอลเข้าไปในสนาม ผู้เล่น ที่ส่งบอลสามารถใช้เวลาได้ 5 วินาที หากเกินกว่านั้นฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลแทน หากมีการคัดค้านและทำให้การแข่งขัน ล่าช้า กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) สามารถขานฟาล์วเทคนิค
  10. กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่ตัดสินและจดบันทึดการฟาล์ว เกิดฟาล์วต่อกัน ครบ 3 ครั้ง ให้แจ้งต่อผู้ตัดสิน (Referee) และสามารถให้ฟาล์วเสียสิทธิ์ ตามกติกาข้อ 5
  11. ผู้ ตัดสิน (Referee) มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด เมื่อลูกบอลเข้าสู่การเล่นในพื้นที่ของเขาและเป็นผู้ จับเวลา ,ให้คะแนนเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ,จดบันทึกคะแนนและรับผิดชองตามพื้นที่
  12. เวลาการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆละ 15 นาที พัก 5 นาที
  13. เมื่อ หมดเวลาการแข่งขัน ฝ่ายที่ทำคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ กรณีมีคะแนนเท่ากันให้ หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อแข่งขันต่อจนกว่ามีฝ่ายใดทำคะแนนได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเคลื่อนที่พร้อมกับลูกบอล
ผู้เล่นอาจจะเคลื่อนที่พร้อมกับลูกบอลไปในทิศทางใดก็ได้ ภายใต้ระเบียบต่อไปนี้
ระเบียบข้อที่ 1 ผู้เล่นที่ได้รับลูกบอลขณะที่ยืนอยู่นิ่ง ๆ อาจจะหมุนตัวโดยเท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลักก็ได้
ระเบียบข้อที่ 2 ผู้เล่นที่ได้รับลูกบอลขณะที่ตนเองกำลังเคลื่อนที่ หรือเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอล อาจจะใช้การนับสองจังหวะเพื่อหยุด หรือเพื่อส่งลูกบอลให้พ้นจากตัวไป

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อยกเว้นในการเลี้ยงบอล

ข้อยกเว้น ต่อไปนี้ไม่ใช่การเลี้ยงลูกบอล
1. การยิงประตูต่อเนื่องกัน
2. เสียการครอบครองลูกบอลโดยบังเอิญ ( การที่ลูกบอลหลุดจากมือโดยบังเอิญ ) ตอนเริ่มต้นหรือตอนสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอล และได้ครอบครองลูกบอลอีกครั้ง
3. ความพยายามที่จะครอบครองลูกบอล โดยการปัดลูกบอลจากผู้เล่นคนอื่นที่พยายามครอบครองลูกบอล
4. ปัดลูกบอลจากการครอบครองของผู้เล่นคนอื่น
5. สกัดกั้นการส่งเพื่อให้ได้ลูกบอลไว้ครอบครอง หรือ
6. โยนลูกบอลไปมาจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่ง ( หรือทั้งสองมือ ) และถือลูกบอลไว้ก่อนที่ลูกบอลจะถูกพื้นสนาม โดยมีข้อแม้ว่าผู้เล่นคนนั้นไม่ได้ทำผิดกติกาว่าด้วยการเคลื่อนที่พร้อมลูกบอล การเลี้ยงลูกบอลครั้งที่สอง เป็นการทำผิดกติกา

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเลี้ยงลูกบาส

การเลี้ยงลูกบอล
การเลี้ยงลูกบอลจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นได้ครอบครองลูกบอล แล้วทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่โดยการโยน ปัด หรือกลิ้งลูกบอลแล้วไปถูกลูกบอลอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะไปถูกผู้เล่นคนอื่น ในการเลี้ยงลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องถูกพื้นสนามภายหลังจากการทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ดังกล่าวแล้ว ผู้เล่นจะสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอลทันทีที่เขาได้สัมผัสลูกบอลด้วยสองมือพร้อมๆ กัน หรือทำให้ลูกบอลพักอยู่ในมือใดมือหนึ่งหรือทั้งสองมือ ไม่จำกัดว่าผู้เล่นจะต้องก้าวเท้ากี่ก้าว ขณะที่ลูกบอลไม่สัมผัสมือของเขา
ผู้เล่นจะต้องไม่เลี้ยงลูกบอลครั้งที่สองภายหลังการเลี้ยงลูกบอลครั้งแรกสิ้นสุดลง เว้นแต่ว่าได้เสียการครอบครองลูกบอลเพราะเหตุต่อไปนี้
1. ทำการยิงประตู หรือ
2. ถูกคู่แข่งปัดลูกบอลออกจากการครอบครอง หรือ
3. การส่งหรือการทำลูกบอลหลุดจากมือโดยบังเอิญ แล้วลูกบอลไปถูกผู้เล่นคนอื่น หรือผู้เล่นคนอื่นถูกลูกบอล ผู้เล่นที่โยนลูกบอลใส่กระดานหลังแล้วไปถูกลูกบอลอีกก่อนที่ลูกบอลจะถูกผู้เล่นคนอื่น เป็นการทำผิดกติกา เว้นแต่ผู้ตัดสินเห็นว่าเป็นการยิงประตู

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิธีเล่นกับลูกบาส

วิธีเล่นลูกบอล
กีฬาบาสเกตบอลคือ การเล่นลูกบอลด้วยมือ แต่การพาลูกบอลวิ่ง การเตะลูกบอล หรือการชกลูกบอล เป็นการทำผิดกติกา
การเตะลูกบอลหรือสกัดลูกบอลด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้เล่นเป็นการทำผิดกติกาได้เมื่อการกระทำโดยจงใจเท่านั้นและการที่เท้าหรือขาถูกลูกบอลโดยไม่ถือเป็นการทำผิดกติกา
การครอบครองลูกบอล ผู้เล่นได้ครอบครองลูกบอล เมื่อผู้เล่นถือลูกบอลหรือเลี้ยงลูกบอลดี หรือในกรณีที่ครอบครองลูกบอลนอกเขตสนามก็ต่อเมื่อลูกบอลอยู่ในมือของผู้เล่นเพื่อส่งลูกบอลเข้าเล่น
ทีมครอบครองลูกบอล เมื่อผู้เล่นของทีมนั้นได้ครอบครองลูกบอล รวมทั้งเมื่อลูกบอลถูกส่งไปมาระหว่างผู้เล่นของทีมนั้น ซึ่งทีมจะได้ครอบครองลูกบอลต่อไปจนกระทั่งคู่แข่งขันได้แย่งการครอบครองลูกบอล หรือเกิดมีบอลตาย หรือได้มีการยิง
ประตูตอนที่ลูกบอลหลุดออกจากมือผู้ยิงประตูไปแล้ว
- ผู้เล่นออกนอกเขตสนาม - ลูกบอลออกนอกเขตสนาม
- ผู้เล่นจะออกนอกเขตสนามเมื่อสัมผัสพื้นบนเส้นขอบสนาม หรือนอกเขตสนาม
- ลูกบอลออกนอกเขตสนาม เมื่อถูกสิ่งต่อไปนี้
1. ผู้เล่นหรือบุคคลอื่นผู้ซึ่งอยู่นอกเขตสนาม หรือ
2. พื้นหรือวัตถุอื่นใดนอกเขตสนาม หรือ
3. สิ่งค้ำยันหรือด้านหลังของกระดานหลัง
การที่ลูกบอลออกนอกเขตสนาม
ลูกบอลถูกทำให้ออกนอกเขตสนาม โดยผู้เล่นคนสุดท้ายที่ถูกลูกบอลก่อนที่ลูกบอลจะออกนอกเขตสนาม โดยถูกสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากผู้เล่น ผู้ตัดสินจะต้องแสดงสัญญาณอย่างชัดเจนว่าทีมใดจะได้ส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามการทำให้ลูกบอลออกนอกเขตสนาม เป็นการทำผิดกติกา ผู้ตัดสินต้องขานลูกยึดเมื่อไม่แน่ใจว่าทีมใดทำให้ลูกบอลออกนอกเขตสนาม

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเภททีมผู้เล่น

ทีม
     แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นไม่เกิน 10 คน และโค้ช 1 คน ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะเป็นหัวหน้าทีม แต่ละทีมอาจจะมีผู้ช่วยโค้ชอีก 1 คน สำหรับทัวร์นาเมนต์ที่ทีมนั้นจะต้องแข่งขันมากกว่า 3 ครั้ง จำนวนผู้เล่นในแต่ละทีมอาจจะเพิ่มเป็น 12 คนก็ได้ ผู้เล่น 5 คนของแต่ละทีมจะต้องอยู่ในสนามแข่งขันระหว่างเวลาการแข่งขัน และสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ตามที่ระบุไว้ในกติกา
      ผู้เล่นของทีมคือผู้เล่นที่อยู่ในสนามแข่งขัน และถูกกำหนดว่าจะลงแข่งขันนอกเหนือจากนี้แล้วจะเป็นผู้เล่นสำรอง ดังนั้นผู้เล่นสำรองจะกลายเป็นผู้เล่นเมื่อผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณแจ้งให้เขาเข้าไปในสนามแข่งขัน และผู้เล่นจะกลายเป็นผู้เล่นสำรองทันทีที่ผู้ตัดสินได้ส่งสัญญาณแก่ผู้ที่จะเข้ามาแทนผู้เล่นคนนั้นให้เข้าไปในสนามแข่งขัน ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมีหมายเลขที่ด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อที่ตนสวมใส่ โดยมีลักษณะเรียบธรรมดา ( ไม่มีลวดลาย ) และมีสีทึบติดกับเสื้อ หมายเลขจะต้องเด่นชัด สำหรับหมายเลขที่ติดด้านหลังจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และหมายเลขที่ติดด้านหน้าจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ทำด้วยวัสดุที่กว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ทีมหนึ่ง ๆ จะต้องใช้หมายเลขตั้งแต่ 4 ถึง 15 ผู้เล่นในทีม

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนตัวนักกีฬา

การเปลี่ยนตัว

1. เมื่อเกิดการฟาวล์ การโยนโทษจะพิจารณาเป็นชุดหรือเป็นกลุ่มของการฟาวล์
คำนิยาม
ชุด อาจจะมีลักษณะดังนี้ คือ โยนโทษ 1 ครั้ง หรือโยนโทษ 1+1 หรือ โยนโทษ 2 ครั้ง หรือโยนโทษ 3 ครั้ง
กลุ่ม อาจจะมีลักษณะดังนี้ คือ
- โยนโทษ 1+1 และโยนโทษ 2 ครั้ง
- โยนโทษ 2 ครั้ง และโยนโทษ 2 ครั้ง + การครอบครองบอล
- โยนโทษ 1 ครั้ง และโยนโทษ 2 ครั้ง
- และการโยนโทษลักษณะผสมใด ๆ ของกลุ่มที่นอกเหนือจากนี้
2. ถ้าภายหลังได้เริ่มดำเนินการโยนโทษของกลุ่มการโยนโทษ แล้วปรากฏว่ามีการฟาวล์ หรือการทำผิดระเบียบเกิดขึ้นก่อนจะเริ่มเดินเวลาการแข่งขัน การลงโทษคือ การโยนโทษ ( ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ) การเล่นลูกกระโดด หรือการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเส้นข้างอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ให้เปลี่ยนตัวเพิ่มได้อีก

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้เล่นสำรองรอการเปลี่ยนตัว

ผู้เล่นสำรอง

    ผู้เล่นสำรองก่อนที่จะเข้าไปในสนามต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึก และต้องพร้อมที่จะทำการแข่งขันได้ทันที โดยผู้บันทึกจะต้องให้สัญญาณทันทีที่มีบอลตาย และหยุดเวลาการแข่งขัน แต่ต้องกระทำก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นอีกครั้งหนึ่งภายหลังการทำผิดระเบียบ เฉพาะทีมที่ไม่ได้ทำผิดระเบียบคือ ทีมที่จะส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกเขตสนามทางเส้นข้างมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวผู้เล่น ถ้าได้มีสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิ์เปลี่ยนตัวได้ ผู้เล่นสำรองจะต้องรออยู่นอกเส้นข้างจนกว่าผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณจึงจะเข้าไปในสนามแข่งขันได้อย่างทันที
การเปลี่ยนตัวต้องเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าผู้ตัดสินเห็นว่มีการชักช้าโดยไร้เหตุผลอันควร ก็ให้เป็นเวลานอกแก่ทีมที่ล่าช้านั้นผู้เล่นที่จะเล่นลูกกระโดดจะไม่ให้เปลี่ยนตัวกับผู้เล่นคนอื่น
ผู้เล่นที่ได้เปลี่ยนตัวออกไปแล้วจะไม่ให้เข้าไปในสนามแข่งขันอีกในช่วงการเปลี่ยนตัวเดียวกันจะไม่ให้มีการเปลี่ยนตัวในกรณีต่อไป
1. ภายหลังการทำประตูได้ เว้นแต่ว่าได้มีการให้เวลานอก หรือมีการขานฟาวล์ หรือ
2. จากช่วงเวลาตั้งแต่ลูกบอลเข้าสู่การเล่นเพื่อการโยนโทษครั้งแรก หรือครั้งเดียว กระทั่งได้มีบอลตายอีกครั้งหนึ่งของช่วงเวลาการเดินนาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน หรือกระทั่งมีการขานฟาวล์ หรือมีการกระทำผิดระเบียบก่อนจะเดินนาฬิกา การลงโทษสำหรับการโยนโทษ การเล่นลูกกระโดด หรือการส่งลูกบอลเข้าเล่นจากนอกสนามทางเส้นข้าง
ข้อยกเว้น ในกรณีที่มีการทำฟาวล์ระหว่างการโยนโทษ จะอนุญาตให้มีการเปลี่ยนตัวได้ แต่เฉพาะเมื่อการดำเนินการโยนโทษและการฟาวล์ก่อนหน้านั้นได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น และก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นสำหรับโทษของการฟาวล์ครั้งใหม่ ภายหลังการโยนโทษครั้งเดียวหรือครั้งสุดท้ายได้ผล เฉพาะผู้โยนโทษเท่านั้น จะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นเพื่อโยนโทษครั้งแรกหรือครั้งเดียวเท่านั้น ในกรณีนี้อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะเปลี่ยนตัวได้คนหนึ่ง โดยมีข้อแม้ว่าได้ขอเปลี่ยนตัวไว้ก่อนที่ลูกบอลจะเข้าสู่การเล่นก่อนการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวนั้น ภายหลังจากที่ผู้บันทึกได้ให้สัญญาณเพื่อการเปลี่ยนตัว ไม่อาจจะบอกยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้อีก อย่างไรก็ตาม จะขอยกเลิกการขอเปลี่ยนตัวได้ทุกเวลา ก่อนที่ผู้บันทึกจะให้สัญญาณว่ามีการขอเปลี่ยนตัว

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กติกาการใส่ชุดในการแข่งขัน

ชุดที่ผู้เล่นสวมใส่จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้

- เสื้อทีม จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ต้องสวมใส่โดยผู้เล่นทุกคนในทีมนั้นเสื้อที่มีลายทางแบบริ้วลายจะไม่อนุญาตให้ใช้
- กางเกงขาสั้น จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งทีม และจะต้องสวมใส่โดยผู้เล่นทุกคนในทีมนั้น
- เสื้อคอกลม ( ทีเชิ้ต ) อาจจะสวมใส่ได้ภายในเสื้อทีม แต่ถ้าสวมเสื้อคอกลมจะต้องใช้เสื้อคอกลมมีสีเดียว และให้เหมือนกับสีของเสื้อทีม
- ชุดชั้นในของกางเกง ที่ยื่นเลยต่ำกว่ากางเกงขาสั้น อาจจะสวมใส่ได้โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีสีเดียว และเหมือนกับกางเกงขาสั้น
ในกรณีที่เสื้อทีมมีสีตรงกันให้ทีมเหย้าเปลี่ยนสีเสื้อทีมเมื่อแข่งขันที่สนามกลาง หรือในทัวร์นาเมนต์ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน และต้องเป็นชื่อแรกในใบบันทึกจะต้องเปลี่ยนสีเสื้อทีม เพราะในทัวร์นาเมนต์หนึ่งๆ แต่ละทีมจะต้องมีเสื้อทีมอย่างน้อย 2 ชุด คือชุดที่เป็นสีจาง และชุดที่เป็นสีเข้ม
สำหรับการแข่งขันที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ให้ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน ( ทีมเหย้า ) สวมเสื้อสีจาง และทีมที่มีชื่อที่สอง ( ทีมเยือน ) สวมเสื้อสีเข้ม

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กติกาบาสเกตบอล

ประเภททีม 
     แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นไม่เกิน 10 คน และโค้ช 1 คน ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะเป็นหัวหน้าทีม แต่ละทีมอาจจะมีผู้ช่วยโค้ชอีก 1 คน สำหรับทัวร์นาเมนต์ที่ทีมนั้นจะต้องแข่งขันมากกว่า 3 ครั้ง จำนวนผู้เล่นในแต่ละทีมอาจจะเพิ่มเป็น 12 คนก็ได้ ผู้เล่น 5 คนของแต่ละทีมจะต้องอยู่ในสนามแข่งขันระหว่างเวลาการแข่งขัน และสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ตามที่ระบุไว้ในกติกา   ผู้เล่นของทีมคือผู้เล่นที่อยู่ในสนามแข่งขัน และถูกกำหนดว่าจะลงแข่งขันนอกเหนือจากนี้แล้วจะเป็นผู้เล่นสำรอง ดังนั้นผู้เล่นสำรองจะกลายเป็นผู้เล่นเมื่อผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณแจ้งให้เขาเข้าไปในสนามแข่งขัน และผู้เล่นจะกลายเป็นผู้เล่นสำรองทันทีที่ผู้ตัดสินได้ส่งสัญญาณแก่ผู้ที่จะเข้ามาแทนผู้เล่นคนนั้นให้เข้าไปในสนามแข่งขัน ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมีหมายเลขที่ด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อที่ตนสวมใส่ โดยมีลักษณะเรียบธรรมดา ( ไม่มีลวดลาย ) และมีสีทึบติดกับเสื้อ หมายเลขจะต้องเด่นชัด สำหรับหมายเลขที่ติดด้านหลังจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และหมายเลขที่ติดด้านหน้าจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ทำด้วยวัสดุที่กว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ทีมหนึ่ง ๆ จะต้องใช้หมายเลขตั้งแต่ 4 ถึง 15 ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องไม่ใช้หมายเลขซ้ำกัน